“แต่งบ้านไม่ต้องตามเทรนด์” แต่ให้ถามใจตัวเองดูว่าชอบอะไรยังไง และควรดูสัดส่วนหรือยังว่าถ้ามาอยู่ใน Space ของเราแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องทำการบ้านก่อนมาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ คือไม่ใช่แค่มาเดินดูแล้วเห็นว่า โซฟาตัวนี้สวยดี เหมาะกับบ้านเราแน่ๆ แล้ว ปรากฏว่าเลือกไปแล้วโซฟาตัวนี้ถูกตั้งโชว์ไว้เฉยๆ โดยไม่เคยนั่งเลย เพราะตอนซื้อไม่ได้ลอง พอต้องนั่งใช้งานจริงๆ แล้ว ถึงรู้สึกว่านั่งไม่สบายหรือไม่เหมาะกับสรีระของเรา
อ่านต่อสำหรับธุรกิจโรงแรม หัวใจหลักของธุรกิจโรงแรม คือการบริการ สิ่งสำคัญในการวางผัง คือ ทำอย่างไงให้พนักงานเข้าถึงตัวลูกค้า (เพื่อให้บริการหรือให้การช่วยเหลือ) ได้เร็วที่สุด เช่น เคาน์เตอร์ต้อนรับ แทนที่จะทำเป็นเคาท์เตอร์ยาวๆ ซึ่งจะเกิดปัญหาว่า กว่าพนักงานจะเดินออกไปได้ก็ค่อนข้างใช้เวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบต่อเรื่อง Service ดังนั้น ก็ควรปรับเคาน์เตอร์ให้สั้นลง เพื่อให้พนักงานสามารถเดินออกไปถึงตัวลูกค้าได้สะดวกและทันใจลูกค้า
อ่านต่อการปรับพื้นที่บ้านจัดสรร สิ่งที่พอจะทำได้คือ 1.ปรับฟังก์ชั่น โดยไม่ต้องต่อเติมก็ได้ แต่ให้ลองดูว่ามีพื้นที่อะไรเหลือและพอจะปรับเปลี่ยนไปทำอะไรได้บ้าง 2.ดึงแสงธรรมชาติเข้ามาให้มากที่สุด ซึ่งโดยส่วนมากบ้านจัดสรรจะให้หน้าต่างบานเล็ก เราก็อาจจะทำการทุบผนังออก แล้วใส่หน้าต่างใหญ่เข้าไป เพื่อเปิดมุมมองไปยังธรรมชาติด้านนอกและได้แสงเข้ามามากขึ้น
อ่านต่อSpace ที่ควรมีในบ้าน ก็คือพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้มากที่สุด บางคนชอบแต่งตัวมาก และใช้เวลาแต่งตัวครั้งละหลายชั่วโมง บางทีการมีแพนทรีอยู่ในห้องแต่งตัว อาจเป็นฟังก์ชั่นหรือพื้นที่ที่คุณต้องการ เผื่อคุณหิวจะได้มีอะไรทานเวลาพักเบรกระหว่างการลองชุด ลองกระเป๋า เป็นต้น ดังนั้น น่าจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจตัวเองก่อน เพื่อดูว่าแท้จริงๆ แล้ว ในบ้านของคุณควรมีฟังก์ชั่นแบบไหนเพิ่มเติม เพื่อที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างแท้จริง
อ่านต่อHidden Cost ในงานรีโนเวท จะซ่อนอยู่เยอะในงานระบบ เวลาที่เราเห็นภาพสวยๆ เราไม่มีทางรู้หรอกว่าเบื้องหลังเขาทำอะไรมาบ้าง สิ่งที่ซ่อนอยู่ คือ งานระบบซึ่งเปรียบเหมือนเส้นเลือด เช่น พวกสายไฟ ท่อน้ำ แม้ว่ามันจะไม่ออกมาเป็นความสวยงาม แต่คุณต้องเตรียมงบสำหรับตรงนี้ไว้ประมาณ 30-40% และยิ่งถ้าอาคารนั้นเป็นอาคารเก่ามาก หาที่มาที่ไปของแบบเดิมไม่เจอ ก็มีความเสี่ยงเรื่องโครงสร้างที่จะไม่ Support งานระบบก็จะเยอะขึ้นเป็นหลายเท่า
อ่านต่อเมื่อคิดจะรีโนเวทบ้าน ให้ถามตัวเราก่อนว่าอยากทำไปในรูปแบบไหน ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด เพราะมันคือสิ่งที่เราอยากให้เป็น มันคือที่ของเรา ก็ให้ทำในแบบที่เราสบายใจ แต่ถ้าเป็นอาคารเก่าที่ต้องทุบต้องเจาะ ต้องดูเรื่องโครงสร้างอาคารให้ดี ความปลอดภัยต้องมาที่หนึ่ง เพราะบางทีมันมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ เราก็จะรู้ว่าฟังก์ชั่นที่เราต้องการนั้นจะไปได้สุดแค่นี้
อ่านต่อความสุขใน “บ้าน” บางครั้งอาจไม่ใช่อะไรหวือหวา แค่เราเห็นบ้านที่ถูกจัดสรรอย่างเป็นระเบียบ สะอาด มีต้นไม้ร่มรื่น เรากลับ รู้สึกว่าภาวะแบบนี้ช่างมีความสุขเหลือเกิน...ก็เลยอยากแนะนำว่า จริงๆ แล้วทุกคนสามารถที่จะสร้างพื้นที่แบบนี้ด้วยตัวเองได้ โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการจัดระเบียบหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ จัดลำดับความสำคัญในการใช้งานและให้เหมาะสมกับการใช้พื้นที่ “ความเป็นระเบียบ หรือ การถูกจัดวางอย่างดี” เป็นสิ่งที่สร้างเสน่ห์ให้พื้นที่
อ่านต่อ“บันได” ที่ใช้ภายในบ้าน ปกติจะมีขนาดตามมาตรฐานที่ต้องเดินสบาย แต่แทนที่เราจะออกแบบให้มีระยะที่พอดีเท้าเพื่อให้การก้าวเท้าเดินได้ต่อเนื่องรวดเร็วที่สุด ในทางกลับกัน ความเร็วของการเดินอาจจะทำให้เราพลาด “ประสบการณ์ระหว่างบันได” ไปด้วยก็ได้ ดังนั้น การออกแบบบันไดที่ให้ยาวขึ้นในระยะที่เหมาะสม คือเดินไม่สะดุด แต่ให้มีจังหวะที่ยั้งตัวเอง “ให้มีเวลากับบันไดและการมองเห็นทิวทัศน์ของบ้านไปด้วย” น่าจะเป็นความรื่นรมย์ของคนอยู่บ้านได้อีกอย่างหนึ่ง
อ่านต่อหากตัวบ้านอยู่ในทิศที่ไม่เหมาะสม เช่น ทิศใต้ที่แดดแรง เราอาจแก้ปัญหาพื้นที่ด้วยการใช้ฟังก์ชั่นบางอย่างภายในบ้าน เช่น บันได ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เราใช้เวลากับมันน้อยที่สุด เพราะปกติเราจะใช้เป็นทางสัญจรผ่านไปมา ก็แนะนำให้จัดพื้นที่ส่วนนี้ไปบล็อกแดด...ง่ายๆ ก็คือ พื้นที่ที่เราไม่ได้ใช้งานเป็นประจำ แบบที่ไม่ได้แช่อยู่กับมันเกิน 15 นาที ก็สามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ไปกันความร้อนได้
อ่านต่อ“การเลือกเฟอร์นิเจอร์” เป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่อยู่กับเราไปอีกนาน ไม่ใช่แค่ 2-3 เดือน แต่เป็นหลักสิบปี ไม่ใช่อะไรที่จะเปลี่ยนได้บ่อยๆ เรามักจะบอกลูกค้าว่า “คุณควรลงทุนกับเฟอร์นิเจอร์” ที่คุณรู้สึกว่าไปลองนั่งลองสัมผัสแล้วชอบ และควรเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีมาตรฐาน ของที่ดีมีคุณภาพ ราคาก็อาจจะมากกว่าของทั่วไปอยู่สักหน่อย แต่มันจะให้อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าและคุ้มค่ากว่า
อ่านต่อ“ทิศตะวันตกและทิศใต้จะร้อน” แทนที่จะเอาห้องที่เปิดหน้าต่างไปไว้ทางด้านนั้น ก็ควรเอาห้องน้ำ ห้องแต่งตัวที่มีเสื้อผ้าเยอะ หรือส่วนตากผ้าไปไว้ตรงนั้นแทน เพื่อให้โดนแดด ให้แดดฆ่าเชื้อให้เรา เหมือนว่าเราควรเลือกใช้ข้อดีของธรรมชาติที่มีให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต โดยออกแบบให้สอดรับกับสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และบริบทของพื้นที่ เพราะเราสู้กับธรรมชาติไม่ชนะหรอก แต่จะอยู่ร่วมกับเขาอย่างฉลาดได้อย่างไร...แค่นั้นเอง
อ่านต่อเวลาจะสร้างบ้านใหม่ แนะนำให้คุณใช้เวลาทบทวนในสิ่งที่จะสร้างหรือลงทุนกับตัวอาคารให้มากที่สุดครับ อยากให้คิดถึง Space การใช้งานเป็นหลัก ไม่ใช่แค่อยากได้กี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าเรื่องของฟังก์ชั่นคือความชอบ โดยควรจะต้องตั้งโจทย์กับตัวเองหลายๆ โจทย์ เช่น ชอบอยู่กับวัสดุแบบไหน หรือมีความสุขที่จะได้อยู่ ได้เห็น หรือได้สัมผัสกับวัสดุแบบไหน แล้วพยายามสื่อสารให้สถาปนิกหรือช่างทราบให้มากที่สุด
อ่านต่อสิ่งที่ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ คือ “ต้นไม้และแสงแดด” สำหรับคนที่อาจจะมีพื้นที่เล็กๆ อย่างคอนโดหรือตึกแถว ต้นไม้และแสงธรรมชาตินี่แหละช่วยคุณได้ ถ้าอยากทำอะไรสนุกๆ ก็อาจจะลงทุนสักหน่อย ทำระบบโซล่าเซลล์ไปต่อกับโคมไฟน่ารักๆ แค่นี้ก็สุขแล้ว ปัจจุบันมีเทคโนโลยี มีของเล่นให้เราลองเยอะแยะ ไม่จำเป็นต้องพึ่งสถาปนิกหรืออินทีเรียร์เสมอไป
อ่านต่อการซ่อมบำรุงคือฟังก์ชั่นนึงของบ้าน ในฐานะเจ้าของบ้าน เราต้องเป็นคนรู้ดีที่สุดว่าน้ำมาทางไหน ไฟเข้าทางไหน ถ้าจะมีสถาปนิกมาออกแบบจุดเซอร์วิสให้คุณ ควรต้องให้เขาออกแบบในลักษณะที่ “มนุษย์ปุถุชนเข้าถึงได้” ท่อแตกคุณปิดวาล์วได้ ไฟเสียเปลี่ยนเองได้ ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานของคุณเอง
อ่านต่อเราสามารถใช้ “ไม้” เป็นองค์ประกอบของบ้านได้ในหลายกรณี ทั้งนี้ต้องรู้จักคุณลักษณะของไม้ว่า “ยืดหดได้” ตามสภาพภูมิอากาศ คายความร้อนเร็ว และเมื่อนำมาเรียงต่อกันก็สามารถทำให้เกิดทั้งส่วนทึบและส่วนโปร่งได้ สามารถนำมาทำ ผนัง ช่องลม ที่บังแดด หรือแม้กระทั่งพื้นชานที่ อีกทั้ง ก็ยังสามารถมาพัฒนาแพทเทิร์นการจัดเรียงใหม่ให้อยู่ในรูปแบบของบ้านโมเดิร์นได้เช่นเดียวกัน
อ่านต่อเรื่อง “การใช้วัสดุ” ในงานออกแบบตกแต่ง...คนชอบแบ่งแยกว่าอันนั้นอันนี้คืออะไร เช่น นี่เป็นวัสดุก่อสร้างนำมาใช้ตกแต่งไม่ได้ แต่ผมว่าเราไม่ควรไป “ให้คำจำกัดความวัสดุ” ว่าอะไรต้องใช้ทำอะไร เช่น สังกะสีปกติใช้เป็นหลังคา แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปทำอย่างนั้นก็ได้นี่ เราจะนำไปแต่งผนังก็ได้ มันสามารถพลิกแพลงการใช้งานได้หมด เพื่อให้การแต่งบ้านดูน่าสนุกขึ้น
อ่านต่อLighting เป็นเรื่องสำคัญ...“การเลือกแสงไฟ” มาใช้ในบ้าน หนึ่งเลยคุณต้องคุมเรื่อง Mood & Tone ของบ้านให้ได้ ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หลอดที่เลือกมาใช้ ปกติแสงจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 2,000-4,000 K เป็นอย่างน้อย ซึ่งบ้านควรจะต้องเป็นแสงเดียวกันจึงจะไม่ดูหลอกตาหรือแปลกตา คือให้อุณหภูมิแสงเท่ากัน แต่ความเข้มของแสงก็แตกต่างกันไปไป เช่น บนโต๊ะอาจสว่างกว่าที่พื้น จะได้ไม่ดูสว่างหรือฟุ้งไปหมดเหมือนในร้านสะดวกซื้อ
อ่านต่อการกำหนดว่าอะไรคือ “พระเอกหรือพระรอง” ในพื้นที่ ไม่มีอะไรตายตัว แต่อย่างง่ายสุดคือ ตามฟังก์ชันของพื้นที่นั้นๆ เช่น ถ้าเป็นห้องนั่งเล่น อะไรที่ควรจะเด่น? ก็คืออะไรที่เกี่ยวกับฟังค์ชั่นของห้อง อาจเป็นชุดโซฟาหรือชุดทีวีที่เจ้าของบ้านอยากโชว์ หรือเป็นพร็อพในห้องนั้น ทั้งนี้ ก็แล้วแต่ Space ด้วย บางห้องมี Double Volume มีผนังด้านนึงเป็นผืนใหญ่ อาจจะใส่พระเอกของเราไปตรงนั้นก็ได้
อ่านต่ออาคารพาณิชย์มักจะถูกนำมาปรับปรุงเป็นโฮสเทล ซึ่งก็จะมีปัญหาในแง่ที่ว่า “ทุกห้องของโรงแรมอยากได้แสงสว่าง” ดังนั้น ห้องที่อยู่ข้างในเราก็ต้องหาวิธีจัดการ เช่น อาจปรับใช้เป็นฟังก์ชั่นที่ไม่ต้องการแสงมาก อย่างห้องประชุมหรือห้องเก็บของ ส่วนห้องที่เป็น Priority ที่แสงต้องเข้าถึง คือ ห้องพัก และโถงทางเข้า เราก็ต้องจัดสรรหรือเขยิบพื้นที่ออกไปเพื่อให้ได้แสงเข้าถึงข้างในได้มากที่สุด
อ่านต่อผมให้ความสำคัญกับ “พื้นที่เปิดโล่ง” หรือ “พื้นที่สีเขียว” ผมเชื่อว่า มันจะมีบางวันที่เราเหน็ดเหนื่อยมาจากอะไรบางอย่างในชีวิตแล้วเรากลับมา เราจะเจอกลับ Space ที่มันไม่ได้ช่วยเราเลย คือถ้าในภาวะอารมณ์ปกติ ผมมองว่าเราอยู่ใน Spaceนั้นได้ แต่ในบางภาวะ ที่เราต้องการให้ Spaceช่วยเราอีกนิดนึง เยียวยาเราอีกหน่อย สีเขียวช่วยได้ เสียงน้ำช่วยได้ หรือแค่เพียงระเบียงมุมเล็กๆ ก็ช่วยได้
อ่านต่อ“ปัญหาความร้อน” ร้อนเหมือนกันแต่คาแรคเตอร์ไม่เหมือนกัน แดดทิศใต้จะทำมุมสูง เครื่องมือในการแก้ปัญหา ที่เหมาะสม คือการทำชายคายื่นยาวหรือการใช้ระแนงแนวนอน ส่วนแดดทิศตะวันตกซึ่งทำมุมต่ำ ควรใช้ระแนงแนวตั้ง เพื่อให้เกิดการเหลื่อมของแสงจะช่วยป้องกันแสงแดดได้มากกว่า ดังนั้นการแก้ปัญหาความร้อนของแดดจะใช้เครื่องมือเดียวกันไม่ได้ แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาและสภาพพื้นที่
อ่านต่อบ้านเป็นสิ่งที่จะอยู่กับเราไปอีกนาน ฉะนั้น ความชอบของเราวันนี้อาจไม่ได้ตัดสิน “สิ่งที่ควรจะเป็นจริงๆ” เราควรต้องเอาความชอบในทั้งช่วงชีวิตของเรา หรืออะไรที่ “งามแบบไร้กาลเวลา” อันนั้นต่างหากคือสิ่งที่เราควรไปหา ผมคิดว่า “บ้านไม่ควรเป็นอะไรที่ฉาบฉวย” ไม่ควรเป็นอะไรที่อิงไปกับกระแสเทรนด์มากๆ เช่น สีนี้กำลังมานะ ต้องรีบหยิบมาใช้ ผมว่าแบบนั้นไม่ใช่ไอเดียของ “บ้าน”
อ่านต่อพื้นที่เล็กก็ Luxury ได้ โดยเลือกใส่กระจกหรือวัสดุที่มีความมันเงา และโทนสีที่ไม่ดูทึบเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ ว่าต้องการได้อารมณ์ประมาณไหน เช่น ถ้าเป็นห้อง Family Room ชั้นล่าง ก็อาจจะให้มีความสนุกสนาน มีสีสันหน่อย แต่ถ้าเป็นห้องที่ชั้นสองก็อาจให้ดูอบอุ่นหน่อย เพราะกำลังจะนอนแล้ว สีก็ต้อง Deep Tone ลงมานิดนึง เช่น น้ำเงิน เทา เป็นต้น
อ่านต่อคนที่กำลังสร้างบ้าน นอกจากเตรียมเงินแล้ว คุณต้องเลือกเนื้อคู่ (สถาปนิก) ก่อน!! เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำงาน ร่วมกันได้... เจ้าของบ้านกับสถาปนิกเองต้องทำงานร่วมกัน ฉะนั้นแล้ว คุณต้องรู้จริตของคุณให้ได้ว่าจริตคุณเป็นแบบไหน แล้วก็เลือกให้ถูกจริตของตัวเอง อันนี้คืออันดับแรก ที่ควรทำก่อนสร้างบ้าน (คือหาเนื้อคู่ที่คุยกันรู้เรื่อง)
อ่านต่อถ้าอยากให้บ้าน “ซ่อมบำรุงง่าย” แม้ไม่ได้มีสถาปนิกมาช่วยวางระบบตั้งแต่แรก คุณก็สามารถทำได้หลายประเด็น เช่น หลังคา ก็แค่มีฝ้าเซอร์วิสซึ่งทำให้ซ่อมบำรุงจากข้างล่างได้สะดวก หรือท่อน้ำ ควรให้เดินท่อข้างบนทั้งหมด เพราะเวลาท่อแตกจะมีแรงดัน เราจะได้เห็นรอยน้ำบนฝ้า และควรออกแบบให้มีวาล์วปิดน้ำเป็นจุดๆ แต่ละห้องไปเลย ก็จะทำให้ช่างสามารถไปซ่อมได้ง่ายขึ้น
อ่านต่อ“บ้านที่อยู่...ไม่ใช่บ้านตัวอย่าง” ที่ต้องพร้อมสมบูรณ์ไปหมดทุกสิ่ง ดีไซน์เนอร์ควรออกแบบตกแต่งเท่าที่จำเป็น แล้วที่เหลือก็ปล่อยให้เจ้าของบ้านแต่งเติมพื้นที่นั้นด้วยตัวเอง เพราะเขาจะรู้ว่าเขาอยากได้อะไร คือมันควรมีพื้นที่ให้เจ้าของบ้านรู้สึกสนุกกับพื้นที่ของตัวเอง
อ่านต่อ“อยู่ทาวน์โฮมแต่ได้อารมณ์เหมือนบ้านเดี่ยว” สิ่งสำคัญคือ “ช่องเปิด” เพราะทาวน์โฮมโดยมากจะมีผนังทึบสองด้าน พื้นที่แน่น ช่องเปิดน้อย ถ้าทำเป็นห้องนอน 2 ห้อง ห้องน้ำตรงกลางก็มืดแล้ว ดังนั้นเราอาจจะเจาะช่อง, เปิดเป็น Court, ทำหลังคา Skylight หรืออะไรที่สร้างพื้นที่ตรงนั้นให้ดูมีแสงธรรมชาติเพิ่มเติมได้ จะช่วยลดความรู้สึกอึดอัดของทาวน์โฮมให้น้อยลงได้
อ่านต่อการเลือกเฟอร์นิเจอร์สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง ผมว่า “โซฟา” เป็นพระเอกในพื้นที่นี้ ควรเลือกโซฟาที่แน่นพอดี ไม่ยุบย้วย มีความสูงพอดี ถ้าเตี้ยเกินไปผู้สูงอายุจะลุกนั่งลำบากคือคำว่า “พื้นที่ส่วนกลาง” มันควรต้องเอื้อกับคนทุกช่วงวัยในบ้าน และผมมักแนะนำให้ลูกค้าเลือกเฟอร์นิเจอร์ Masterpiece สักอันมาใส่ เพื่อให้ดูเป็นงานศิลปะในพื้นที่ เวลาที่เข้าไปใช้งานคุณจะได้สัมผัสกับสุนทรียะในพื้นที่ด้วย
อ่านต่อถ้าคิดจะเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมอะไรลงไปเพื่อเติมความสดใสให้บ้านเก่า ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้คุณตัดสินใจ “ทิ้งของ” บางอย่างให้ลงเสียก่อน!! สังเกตไหมว่าบ้านที่อยู่มานานมันจะเริ่มไม่เป็นระเบียบ เพราะมันเต็มไปด้วยข้าวของมากมาย ดังนั้นก็ต้องกล้านำสิ่งที่ไม่ใช้ออกและหลังจากนั้นแล้วคุณจะรู้เองว่า คุณอยากเอาอะไรเข้ามาหรือควรทำอะไรกับพื้นที่นั้นต่อไป
อ่านต่อถ้าจะทำห้องเล็กให้อยู่สบาย แนะนำให้เปิดพื้นที่เพื่อยืม Space ของห้องต่างๆ มาใช้ร่วมกัน เช่น ห้องนอนชั้น 2 เปิดประตูบานเลื่อนไปยืมพื้นที่ของห้องนั่งเล่นที่ชั้น1 ทำให้พื้นที่กลายเป็น Duplex เล็กๆ คือ ให้ทุกห้องเชื่อมกัน มองเห็นกันได้ เหมือนยืม Space ซึ่งกันและกัน แม้เราจะอยู่ในห้องเล็กๆ พอเปิดหน้าต่างออกไปเชื่อมพื้นที่กัน มันก็จะให้ความรู้สึกว่า “ไม่เล็ก” แล้ว
อ่านต่อบ้านหลายหลัง ชอบเอาต้นไม้หรือสวนไว้ข้างนอก ข้อเสียคือ เวลาเราอยู่ในบ้านจะแทบไม่เห็นต้นไม้เลย เราเลยคิดมุมกลับโดยเอาต้นไม้เข้ามาอยู่ในบ้าน ในห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ห้องนอน เพราะเรามองว่าในเมื่อคุณจ่ายเงินสร้างขึ้นมาแล้ว ทุกห้องในบ้าน“ควรจะได้เห็นมัน” ...คุณควรได้ดื่มด่ำกับบ้านและกับเงินที่จ่ายไป
อ่านต่อเรื่องการเลือกเฟอร์นิเจอร์ ถ้าคุณเป็นคนมี Sense ด้านดีไซน์ดี คุณจะเลือกหยิบของที่ดูไม่เข้ากันมาใช้ก็ได้นะครับ แต่สำหรับคนทั่วๆ ไป แนะนำให้คุณสนุกกับการเลือกดีไซน์ที่มันเข้ากันมาก่อนดีกว่าในช่วงเริ่มต้น เพื่อค่อยๆ เรียนรู้กับการมิกซ์แอนด์แมตช์ แล้วคุณก็จะสามารถเลือกสีที่ดูไม่เข้ากันแต่มันก็จะลงตัวได้ในภายหลัง
อ่านต่ออยากทำ Inner Court ควรมีพื้นที่ขั้นต่ำสัก 4x4 เมตร แต่จริงๆ ก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของบ้านด้วย “การปลูกต้นไม้ในบ้าน” หากต้องการปลูกเป็นไม้ยืนต้น ก็ควรจะต้องมีแสงที่เพียงพอ มีระบบรดน้ำและการระบายน้ำ คือจะต้องมีระบบที่รองรับเรื่องการดูแลต้นไม้ด้วย รวมถึงไฟส่องสว่างต้นไม้ตอนกลางคืน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศของบ้านให้ดูอยู่ขึ้น
อ่านต่อห้องเล็กทำยังไงให้ดูใหญ่? อาจใช้กระจกเข้ามาช่วย โดยใช้ผนังกระจกใสมาเป็นตัวกั้นห้องแทนผนังทึบและเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีสัดส่วนเล็กหน่อยหรือแบบที่ทำจากวัสดุโปร่ง เช่น แก้วใส อะคริลิค ที่มีความมันวาวมาใช้แทนวัสดุทึบๆ ตันๆ ส่วนการใช้สีสัน ถ้าห้องเล็กก็น่าจะใช้ Neutral Tone เพื่อช่วยหลอกตาให้ Space ดูกว้างและโปร่งโล่งขึ้น
อ่านต่อเมื่อก่อน “ล็อบบี้” โรงแรมอาจมีขนาดใหญ่ มีไว้เช็คอินและให้แขกนั่งคอย แต่จริงๆ เราสามารถเพิ่มมูลค่าให้พื้นที่นี้เป็นมากกว่าแค่ Waiting Area โดยลดขนาดให้เล็กลง แล้วออกแบบพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็น Co-working space ให้บุคคลภายนอกมาเช่าใช้บริการ เพื่อทำให้พื้นที่ตรงนี้กลายเป็นอีกแหล่งสร้างรายได้หนึ่งของโรงแรม
อ่านต่อการทำ Co-Working Space ในออฟฟิศ คือ การมีโต๊ะทำงานที่ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของ อาจจะเพิ่มทางเลือกเป็นโซฟาให้นั่งทำงานด้วยก็ได้ค่ะ เพื่อให้ความรู้สึกผ่อนคลายในการทำงานมากขึ้น ซึ่งก็เป็นฟังก์ชั่นที่ถูกใจคนรุ่นใหม่ เพราะช่วยให้เขารู้สึกว่า บรรยากาศมันดูสร้างสรรค์ขึ้นกว่าการนั่งอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดิมๆ ทุกวัน
อ่านต่อวัสดุนึงที่กำลังอินเทรนด์ตอนนี้ คือ Terrazzo หรือหินขัดค่ะ ถ้าไปตามร้านตามคาเฟ่ เราก็จะเห็นเขาใช้วัสดุนี้ เยอะขึ้นค่ะ ถ้าจะเลือก Terrazzo ไปทำพื้น ควรเลือกแพทเทิร์นที่มีตัวเม็ดหินใหญ่หน่อยไม่งั้นมันจะแตกร้าวได้ค่ะ ถ้าเลือกลายที่ไม่ได้มีสีมากราคาจะถูกกว่าหินจริง และให้ความรู้สึกคล้ายๆ หินแกรนิต
อ่านต่อถ้าคิดจะปรับปรุงบ้าน ให้ลองจดรายการความต้องการออกมา และถ้าหากมีงบประมาณที่จำกัดให้โฟกัสพื้นที่ที่สำคัญและมีการใช้งานมากที่สุดก่อน จากนั้นให้ดูแปลนบ้านเดิมว่าสามารถขยายหรือปรับปรุงโดยมีผลกระทบกับโครงสร้างหรือไม่ และจึงดูเรื่องรูปแบบที่ต้องการ วัสดุที่ชอบ อาจจะลองทำแผนงานออกมาให้ชัดเจน
อ่านต่อเวลาติดตั้งแอร์ ผมจะค่อนข้างใส่ใจกับงานระบบ เช่น การวางตำแหน่งคอยล์ร้อนของแอร์ คือจะให้มันไปเรียงรวมกันอยู่ที่ระเบียงทั้งหมดซึ่งมันก็จะเปลืองค่าท่อนิดนึง แต่มันก็ทำให้เกิดความสวยงามและมีจุดเซอร์วิสที่เดียวจบ ซึ่งผมจะทำแบบนี้กับบ้านทุกหลัง ใครที่มีบ้านอยู่แล้วจะเอาไปลองทำก็ได้ครับถ้าทนไหวกับค่าท่อ
อ่านต่อถ้าอยากเพิ่มเรื่องแสงเงาให้กับบ้าน อย่างแรกคือทำให้บ้านโล่งที่สุดเท่าที่จะโล่งได้ เพราะความโล่งทำให้เกิดความสงบได้มากขึ้น สองคือถามตัวเองว่ากิจกรรมไหนคือสิ่งที่ฉันชอบ เพราะการจะทำให้บ้านโล่งได้แปลว่าเราต้องเลือกที่จะตัดทอนบางอย่างที่ไม่จำเป็นหรือไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วก็ดึงพื้นที่กิจกรรมนั้นไปใกล้แสงธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
อ่านต่อเติม Gimmick ให้บ้านจัดสรร...ผมว่าน่าจะทำได้ง่ายๆ ด้วยการใส่ Lounge Chair หรือเก้าอี้เอนหลังได้เข้าไป มันจะน่านั่ง จับมันกระจายไปตามจุดที่ไม่มีคนไปใช้งาน ผมว่ามันจะมีคนไปใช้ มันจะดึงให้คนเข้าไปทำอะไรสักอย่างตรงนั้นได้ เราใช้เซ็ตที่นั่งนี่แหละในการกำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของบ้านได้
อ่านต่อถ้ามีบางห้องที่โดนแดดเยอะอาจจะลองเลือกต้นไม้ที่มีรูปทรงเหมาะกับการบังแดดในแต่ละทิศมาช่วย เพราะบ้านเป็นอาคารที่ไม่ได้สูงมาก เราใช้ต้นไม้มาช่วยก็อาจจะทำให้อยู่สบายขึ้นได้ อย่างทิศใต้ ควรเลือกต้นไม้ที่มีลำต้นสูงเพื่อให้ลมเข้ามาได้แต่มีทรงพุ่มแผ่กว้างเพื่อบังแดด หรือทิศตะวันตกก็เลือกไม้พุ่มหนาหน่อยจะได้บังแดดมุมต่ำๆ ได้
อ่านต่อเวลาออกแบบบ้านให้ลูกค้า ผมจะหวง “กำแพง” มาก เพราะรู้ว่าคุณจะได้ใช้มันแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เก็บของไปจนถึงการประดับประดาให้สวยเวอร์ชั่นไหน เรื่อง “กำแพง” กลายเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันดีๆ ถ้าจะทำกำแพงด้านนั้นให้เป็นหน้าต่างก็ต้องเป็นหน้าต่างที่ให้ผลกระทบระหว่างข้างในกับข้างนอกให้มันเต็มที่ที่สุด ให้มีลมผ่านดีที่สุด เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้รับอากาศใหม่เข้ามาหมุนเวียนในห้องอยู่เสมอ
อ่านต่อปัญหาของบ้านที่มีพื้นที่มาก คือ สมาชิกในบ้านไม่ค่อยคุยกัน ทุกคนจะไปหาที่เหมาะๆ แล้วก้มหน้าเล่นมือถือ เฟอร์นิเจอร์จะเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้ โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ Oversize จากโซฟาที่นั่งได้สองคน ลองปรับเป็น L Shape หรือ U Shape เพื่อทำให้คนนั่งหันมองหน้ากัน มันช่วยเรื่องของความสัมพันธ์ในครอบครัวได้มากขึ้น
อ่านต่อการเลือกเฟอร์นิเจอร์ไปแต่งออฟฟิศ ควรเน้นที่ความหลากหลายผู้งานจะได้ไม่เบื่อ เช่น โต๊ะเก้าอี้ อาจไม่ต้องมีดีไซน์เหมือนกัน เพื่อให้มันสร้างความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ หรือถ้าเป็นสถานที่ทำงานแบบ Co-working space เราก็อาจเลือกเป็นเก้าอี้คละแบบ แต่โทนสีเดียวกัน ดีไซน์ไปด้วยกัน อะไรทำนองนี้ก็จะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความสนุกขึ้นค่ะ
อ่านต่อเมื่อจะเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้าน ควรตั้งต้นที่ “ขนาด” ที่มันเหมาะกับห้องก่อน...ขนาดห้องเราเท่านี้โซฟาแค่นี้พอ เวลาไปเดินเลือกก็อย่าเลือกให้มันเกินนี้ แม้ว่ามันจะสวย จะโปรโมชั่นดีก็เถอะ เพราะโดยมากเรามักจะเลือกของที่มันใหญ่เสมอ เพราะรู้สึกว่าคุ้มกับที่จ่าย แต่สุดท้ายพอเอามาลงที่บ้าน ขนาดมันอาจไม่โอเคกับพื้นที่ของเรา อันนั้นแหละมันจะมีปัญหา
อ่านต่อการวางผังให้บ้านอยู่ตรงกลางและมีพื้นที่สวนล้อมรอบ จะทำให้คุณได้สวนที่แคบไปเสียทุกด้าน ดังนั้น อีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้มีพื้นที่สวนกว้างขึ้น คือ การวางตัวบ้านให้ชิดมาทางด้านหน้าเพื่อเปิดด้านหลังให้เป็นสวนแทน แต่ถ้าหลังบ้านเป็นวิวที่ไม่โอเค ก็อาจวางผังให้ตัวบ้านปิดล้อมพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลัง แล้วเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เป็นสวนก็ได้
อ่านต่อความท้าทายอีกอย่างคือ ทำยังไงให้เจ้าของบ้านรู้สึกว่า เสียเงินแล้ว...เขาได้ในสิ่งที่เขาต้องการมากที่สุด เพราะงานออกแบบไม่ใช่ของเรา แต่มันเป็นของคนที่เขาต้องอยู่หรือใช้ชีวิตในนั้น เรามีหน้าที่ปรับเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องกับรายละเอียดและความต้องการของลูกค้า...ซึ่งผมถือว่าเป็น Content ที่แท้จริงของงานออกแบบ
อ่านต่อ